แร่ธาตุที่ถูกใช้ในงานศิลปะไทยมีอะไรบ้าง

          ตามหลักการพัฒนาของมนุษย์ทางศิลปะ ย่อมนำเครื่องไม้เครื่องมือหรือสิ่งต่างๆที่ได้พัฒนากันขึ้นมาแล้วในโลกมนุษย์ นำมาประกอบสร้างเป็นงานศิลปะกันทั้งนั้น แร่ธาตุที่ขุดได้จากดินก็เป็นส่วนหนึ่งที่มักถูกขุดหาขึ้นมาประกอบกันขึ้นเป็นองค์พระพุทธรูป หรือ งานประติมากรรม งานหัตถกรรม ประณีตศิลป์ต่างๆเนื่องในศาสนาตามความเชื่อโบราณของแต่ละกลุ่มชนอยู่เสมอ

          เช่นเดียวกันกับในงานศิลปะไทยที่มักจะนำแร่ธาตุเหล่านั้นมาหล่อขึ้นเป็นงานประติมากรรมที่ตอบสนองสังคมพุทธศาสนาอยู่นั้นเอง ดังนั้น ในวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับแร่ธาตุต่างๆที่ถูกนำมาใช้ในงานศิลปะทางศาสนากันบ้าง ว่าจะมีแร่ธาตุตัวใดที่ช่างโบราณมักนำมาใช้ประกอบสร้างขึ้นเป็นงานศิลปะขึ้นมาได้ แล้วแต่ละตัวมีลักษณะ รูปร่าง คุณสมบัติแตกต่างกันไปอย่างไร ไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันที่แร่ธาตุตัวแรกอย่าง ทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยทองแดงและสังกะสี เป็นโลหะสีเหลือง มำนักมาหล่อเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้

          ตัวต่อมาที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญในงานศิลปะไทย ได้แก่ ทองแดง เป็นโลหะสีแดง เนื้ออ่อน บุให้เป็นแผ่นหรือรีดเป็นเส้นได้ง่าย มักใช้ทำเป็นภาชนะเครื่องใช้และงานศิลปหัตถกรรมได้หลายชนิด จากคุณสมบัติที่กล่าวไปทองแดงจึงเป็นแร่ธาตุที่ถูกนำไปมาประสมกับแร่ธาตุอื่นๆ ก่อเกิดเป็นแร่ผสมที่นำไปสร้างงานศิลปกรรมได้อีกหลากหลายสาขาประเภท

          ตัวต่อมา ถือได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่ในปัจจุบันมีราคาสูงเป็นอย่างมาก นับเป็นแร่ธาตุที่แสดงถึงความมีค่ามาแต่โบราณอย่าง ทอง ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่นับได้ว่าเป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่ง ตัวเนื้อของทองมีลักษณะที่แน่นมาก สีสันของทองคงเป็นที่ทราบกันดีถึงความสุกปลั่ง และด้วยความมีค่าของมัน ทองจึงถูกนำมาใช้ในสถานะแร่ธาตุที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการทำเครื่องประดับแต่โบราณ ดังตัวอย่างเช่น กรุเครื่องทองที่ได้ค้นพบจากวัดมหาธาตุ และ วัดราชบูรณะ อยุธยา ก็เป็นทองเสียมากทั้งสิ้น สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมในแร่ธาตุมีค่านี้มาแต่โบราณนั้นเอง

          ตัวต่อมา คือ นาก ไม่ใช่ว่าจะเป็นสัตว์เสมอไป นาก คือชื่อแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นโลหะกรรมประสมระหว่างเนื้อโลหะกับทองคำ หรือเงินกับทองแดงเข้าด้วยกัน ในงานศิลปะไทยพบเห็นการนำนากมาใช้อยู่บ้าง แต่จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักมากนัก อาจจะเนื่องด้วยขั้นตอนและวิธีการผลิตที่ค่อนข้างมาก ทำให้นาก มักถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบรองอยู่เสมอๆ ดังตัวอย่าง เช่น นำมาบุที่ปากหรือพระโอษฐ์ของพระพุทธรูป เป็นต้น